4 วิธีการเช็คว่ามีไฟฟ้าลัดวงจรหรือไม่?

ไฟฟ้าลัดวงจร

ปัญหาหรืออันตรายที่เกี่ยวกับเรื่องของไฟฟ้าลัดวงจรนั้นไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเราอย่างที่คิดนะครับ หากประมาทเพียงชั่วครู่ก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เลยเช่นกันครับ วันนี้เราเลยอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “4 วิธีการเช็คว่ามีไฟฟ้าลัดวงจรหรือไม่?” ที่ทุกๆ ท่านสามารถนำไปใช้กันได้ครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ความหมายของคำว่า ไฟฟ้าลัดวงจร

ไฟฟ้าลัดวงจรคือ การเชื่อมต่อที่ไม่ได้ตั้งใจและมีความต้านทานต่ำระหว่างจุด 2 จุดในวงจรไฟฟ้า เนื่องจากตัวนำที่มีความต้านทานต่ำถ่ายโอนพลังงานอย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อนี้ข้ามโหลดหรือความต้านทานปกติ ทำให้กระแสไหลมากเกินไป มักเกิดจากสายไฟ ส่วนประกอบ หรือฉนวนที่เสียหายหรือผิดพลาด กระแสไฟที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความร้อนสูงเกิน ส่วนประกอบของวงจรเสียหายได้ และอาจเกิดเพลิงไหม้ได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน

สาเหตุของการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรนั้นเราสามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็นอีก 3 กรณี ดังนี้

1. เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า สาเหตุไฟฟ้าลัดวงจรที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้ ใช้งานไม่ถูกวิธี หรือใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ทั้งสิ้น

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุดอาจเป็นสาเหตุไฟฟ้าลัดวงจรได้ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งานมานานเกินไป หรือมีส่วนประกอบที่เสียหาย อาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกวิธี การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าเกินกำลัง การใช้งานนานเกินไป จะทำให้เกิดความร้อนสูง โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขดลวด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุไฟฟ้าลัดวงจรได้ในที่สุด

2. เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ไฟฟ้าลัดวงจรสาเหตุที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น ใช้งานเต้ารับที่ชำรุด ต่อปลายสายที่แผงสวิตช์มากเกินไป สวิตช์ไฟฟ้าหลวม ใช้คัตเอาท์ไฟฟ้ารุ่นเก่า ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ทั้งสิ้น

3. เกิดจากสายไฟฟ้า ไฟฟ้าลัดวงจรเกิดจากสายไฟฟ้าที่ต่อไม่แน่น ฉนวนไฟฟ้าเสื่อม ใช้ไฟฟ้าเกินขนาด มีการต่อสายไฟไปใช้ในหลายๆ ที่ หรืออาจจะใช้สายไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้ทั้งนั้น

4 วิธีการเช็คว่ามีไฟฟ้าลัดวงจร

1. ตรวจมิเตอร์ไฟว่ามีไฟรั่วหรือไม่

วิวิธีเช็คสายไฟช็อตง่ายที่สุด คือลองปิดไฟทั้งบ้านและดึงปลั๊กออก หลังจากนั้นให้ดูที่มิเตอร์ไฟของบ้านว่ายังหมุนอยู่หรือไม่ เพราะถ้าหากมิเตอร์ยังหมุนเรื่อยๆ นั่นแปลว่าอาจจะมีกระแสไฟรั่วภายในบ้าน ณ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งถ้าเบรกเกอร์ไม่ตัดไฟอัตโนมัติ ควรเรียกช่างมาแก้ไขตรวจหาจุดที่ไฟรั่ว รวมทั้งต้องเปลี่ยนสายไฟที่รั่วนั้นด้วย

2. เช็คปลั๊กและเต้ารับทุกจุด

เช็คระบบไฟบ้าน แนะนำให้ใช้ไขควงเช็ดไฟเสียบเข้าไปที่เต้ารับทุกจุดในบ้าน ว่ามีจุดไฟนไฟไม่เข้าหรือชำรุดแล้วบ้าง เพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที นอกจากนี้ปลั๊กสามตาในบริเวณต่างๆ ก็ควรเช็คว่าเต้ารับต้นทางร้อนเกินไปหรือเวลาเสียบมีไฟแล่บออกมาหรือไม่ สัญญาณนี้จะบ่งบอกว่าใช้ไฟเกินหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กอยู่นั้นอาจมีโอกาสไฟรั่วหรือไฟช็อตได้

3. ตรวจเช็คตู้ไฟประจำบ้าน

ทุกบ้านจะมีตู้ไฟประจำบ้านที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมกระแสไฟต่างๆ ภายในบ้านให้ตรวจสอบเมนสวิตช์ว่า มีสิ่งสกปรก มีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังอยู่ในตู้หรือไม่ ดูสีของสายไฟว่าเป็นปกติหรือไม่และตรวจสอบคัตเอาต์หรือ เบรกเกอร์ว่ายังสามารถทำงานได้ดี

4. ตรวจสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน

ควรมั่นตรวจสอบ ตรวจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เช็คระบบไฟบ้านที่มีความเสี่ยงว่าจะไฟรั่วหรือไฟช็อตได้ง่าย อาจจะใช้ไขควงวัดกระแสแตะๆ เช็คดูก็ได้เช่นกันครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “4 วิธีการเช็คว่ามีไฟฟ้าลัดวงจรหรือไม่?” ที่เราได้นำมาแนะนำทุกๆ ท่านพร้อมกับความรู้พื้นฐานที่น่าสนใจ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านกันนะครับ